Thai life in USA

Saturday, December 29, 2012

แจ้งเกิด ขอสูติบัตรไทย ของกงสุลไทยในอเมริกา

แจ้งเกิด ขอสูติบัตรไทย ของกงสุลไทยในอเมริกา

การขอสูติบัตรไทย www.thaiconsulatela.org/service_legal_detail.aspx?link_id=18
สูติบัตร (แจ้งเกิด) http://mof.thaiembdc.org/consular/Lega/Lega1_1.aspx

Wednesday, December 26, 2012

จดทะเบียนกับชาวต่างชาติ แล้วจะซื้อบ้านที่เมืองไทยได้ไหม


     จดทะเบียนกับชาวต่างชาติ แล้วจะซื้อบ้านที่เมืองไทยได้ไหม คือจดทะเบียนที่อังกฤษค่ะ แต่ยังไม่ได้มีทะเบียนสมรสที่เมืองไทย (คิดว่าจะจดทะเบียนที่เมืองไทยด้วย เพราะสามีอยากให้เปลี่ยนนามสกุลในพาสปอร์ตไทยด้วย) พาสปอร์ตยังเป็น นางสาว อยู่ค่ะ กะว่าจะซื้อบ้านที่เมืองไทยด้วย (ตั้งใจว่าตอนแก่ ๆ จะย้ายไปอยู่เมืองไทยค่ะ) ถ้ามีทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติแล้วเราจะมีสิทธิครอบครองบ้าน ที่ดินที่เมืองไทย ไหมค่ะ มีใครมีประสบการณ์บ้างคะ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

    ขอบคุณค่ะ
    จากคุณ : thaisnob  - [ 23 ก.ค. 48 02:29:38 ]

       ความคิดเห็นที่ 1 

      ถ้าคุณยังถือสัญชาติไทยอยู่
      คุณจะมีกรรมสิทธิในการถือครองที่ดินได้
      แต่ถ้า ถือสัญชาติอังกฤษ ก็เหมือนคนต่างด้าวคนหนึ่ง
      ส่วนสามี ถ้าเขาอยู่เมืองไทยต่อเนื่องเกิน6ปีขึ้นไปโดยไม่เข้าๆออกประเทศ แต่ข้อจำกัดของvisa 3เดือนทำให้ฝรั่งบางคนมาอยู่ไทย กับหน่วยสถานฑูต 5ปีแล้วก็ไม่ผ่านข้อกฏหมายไทย...
      จะมีสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ถ้าเปิดport การลงทุน เป็นของนิติบุคคล บริษัท แต่ไม่มีสิทธิในกรรมสิทธิ ถ้าไม่มีใบสัญชาติ...

      จากคุณ : kuddle  - [ 23 ก.ค. 48 03:12:57 ]
       ความคิดเห็นที่ 2 

      ถ้าจดทะเบียนในต่างประเทศแล้ว ไม่ต้องจดทะเบียนที่เมืองไทยอีกค่ะ อันนี้ประสบการณ์ตรง คือ จดทะเบียนที่อเมริกาพอกลับไปเมืองไทยก็ว่าจะไปจดทะเบียนสมรสเหมือนกัน แต่เจ้าหน้าที่เขตดอนเมืองบอกว่า ไม่ต้องจดอีกเพียงให้สถานทูตรับรองใบทะเบียนสมรสของอเมริกาแล้วเอามาขอทำบันทึกรับรองการจดทะเบียนสมรสนั้นๆ ที่เขตจากนั้นก็ไปยื่นเรื่องขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและนามสกุล และทำบัตรประชาชนใหม่ ส่วนนามสกุลในพาสปอร์ตก็ไปติดต่อขอเปลี่ยนได้เลย ที่กระทรวงต่างประเทศ (หรือสถานทูตไทยในประเทศที่อาศัยอยู่นั่นแหละ) เอาสำเนาใบทะเบียนสมรสไปด้วย... ไม่ยุ่งยากเลย (เฉพาะเปลี่ยนนามสกุลในพาสปอร์ตนะ)... แต่ช่วงที่ยังไม่ได้เปลี่ยนนามสกุลในพาสปอร์ต เวลาเดินทางต้องพกสำเนาทะเบียนสมรสไปด้วยนะ กรณีชื่อ-นามสกุลในตั๋วเครื่องบินกับในพาสปอร์ตไม่ตรงกันน่ะ...แก้ไขเมื่อ 23 ก.ค. 48 04:10:51
      แก้ไขเมื่อ 23 ก.ค. 48 04:09:36

      จากคุณ : BlackmagicW  - [ 23 ก.ค. 48 04:08:14 ]
       ความคิดเห็นที่ 3 

      สองไปอ่านดูนะครับ

      http://www.mfa.go.th/web/1071.php

      http://www.dol.go.th/guide/menu_foreigner.php

      จากคุณ : Q - [ 23 ก.ค. 48 13:04:15 A:61.91.213.60 X: TicketID:104900 ]
       ความคิดเห็นที่ 4 

      http://www.dol.go.th/guide/menu_foreigner.php

      จากคุณ : Weka  - [ 23 ก.ค. 48 14:20:29 ]

Keyboard



http://www.incks.com/en/thai.html
http://www.seasite.niu.edu/thai/thaikeyboard.htm
http://www.ppainnovation.com/thaikeyboard/
http://www.puttipan.com/thaikeyboard
http://www.learningthai.com/thaikeyboard/

สรุปเอกสารทุกชนิด ทุกขั้นตอน ติดต่อราชการ ของ AOS


ขั้นตอนการปรับสถานะของวีซ่าทุกๆ ชนิด (Adjustment of Status) (ก๊อปปี้ เมื่อ วันพุธที่ 26 ธันวาคม 2555ฝ2012)

แยกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้ (ใครทำเรื่องปรับสถานะได้บ้าง)

ผู้ที่มีสิทธิทำเรื่องปรับสถานะ
  • กลุ่มวีซ่าคู่หมั้นและวีซ่าคู่สมรส K3 มีสิทธิโดยตรงไม่ต้องยื่นเรื่องเพื่อขอหมายเลขวีซ่า (Visa number)
    • ฟอร์มหลักๆ ที่ต้องกรอกคือ I-485, G-325A
    • ที่แนะนำให้กรอก I-765,I-131
  • กลุ่มผู้ที่มาวีซ่าอื่นๆ เช่น มาวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่านักเรียน วีซ่าทำงานระยะสั้นๆ กลุ่มนี้ส่วนมากมาแล้วก็มาแต่งงานกับซิติเซ่น แต่ก็มีที่แต่งงานกับกรีนการ์ด แนะนำให้ส่งเรื่องปรับสถานะก่อนวีซ่าชั่วคราวหมดอายุ
    • ฟอร์มหลักๆ ที่ต้องกรอกคือ I-485, G-325A และ I-130
    • ที่แนะนำให้กรอก I-765,I-131
ผู้ที่ไม่มีสิทธิทำเรื่องปรับสถานะ
ขั้นตอนของกลุ่มวีซ่าคู่หมั้นและวีซ่าคู่สมรส K3
  • เมื่อมาถึงอเมริกาหากว่าต้องการอยู่อาศัย ทำงานและเดินทางเข้าออกอเมริกาอย่างถูกกฏหมาย

      วีซ่าคู่หมั้น ต้องแต่งงานภายใน 90 วัน (I-94) ที่เดินทางถึงอเมริกา ก่อน วีซ่าคู่สมรส K3 ยื่นเรื่องปรับสถานะได้เลย
  • เอกสารอะไรบ้างที่ต้องใช้
ขั้นตอนของกลุ่มผู้ที่มาวีซ่าอื่นๆเช่น มาวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่านักเรียน วีซ่าทำงานระยะสั้นๆ กลุ่มนี้ส่วนมากมาแล้วก็มาแต่งงานกับซิติเซ่น แต่ก็มีที่แต่งงานกับกรีนการ์ด แนะนำให้ส่งเรื่องปรับสถานะก่อนวีซ่าชั่วคราวหมดอายุ

* ฟอร์มหลักๆ ที่ต้องกรอกคือ I-485, G-325A และ I-130
* ที่แนะนำให้กรอก I-765,I-131

สรุปเอกสารทุกชนิด ทุกขั้นตอน ติดต่อราชการ ของ AOS

ขั้นตอนของกลุ่มวีซ่าคู่หมั้นและวีซ่าคู่สมรส K3 เมื่อมาถึงอเมริกาหากว่าต้องการอยู่อาศัย ทำงานและเดินทางเข้าออกอเมริกาอย่างถูกกฏหมาย

    ขั้นตอนการขอหมายเลขประกันสังคม (K1-K4) แนะนำให้ไปขอเมื่อมาถึงอเมริกาก่อน I-94 หมดอายุ 14 วัน (K1/K2 หลังจากแต่งงานเลย) ขั้นตอนแต่งงาน http://www.ssa.gov/ssnumber/ ขั้นตอนการขอใบขับขี่ ต้องมี SSN ก่อน เอกสารหลัก ๆ (อื่นๆ เข้าไปดูใน DMV ของแต่ละรัฐ)
    • Passport
    • SSN
    • I-94
    • EAD หรือว่า AP หรือ Greencard
    • ใบขับขี่สากล หรือใบขับขี่ไทย (English)
    ขั้นตอนการปรับสถานะ วีซ่า K1-K4 (ยกเว้นผู้ที่มาวีซ่าอื่นๆ )
    • Form I-485
      • Form I-485
      • Form G-325A (1 ชุด 1 ใบ)
      • ค่าธรรมเนียมเป็น Check, Money order และ เงินสด (ไม่มีค่าพิมพ์ลายนิ้วมือสำหรับผู้อายุ 79 หรือผู้ที่ต่ำกว่า 14)
      • สำเนาวีซ่า K1-K4 หรือว่าอื่นๆ ที่คุณใช้เข้าอเมริกา
      • สำเนา I-94 (หน้าหลัง) วีซ่าอื่นๆ ที่ไม่มีก็ใช้เอกสารยืนยันที่มี
      • สำเนา Approval Notice (NOA2) วีซ่าอื่นๆ ไม่มี
      • Form I-693 (หรือจะใช้จากที่ตรวจจากไทยหรือมา Transfer ที่อเมริกาส่ง)
      • รูปถ่าย 2 ใบ (ถ่ายมาไม่เกิน 30 วัน)
      • สำเนาทะเบียนสมรส (Marriage Certificate)
      • สำเนาพาสปอร์ต (ของคู่สมรสไทยและอเมริกัน)
      • สำเนาใบเกิด (ที่แปล) เป็นไทยและอังกฤษ
      • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อนามสกุล (ที่แปล) เป็นไทยและอังกฤษ (ถ้ามี)
      • สำเนาใบหย่า (ที่แปล) เป็นไทยและอังกฤษ (ทั้งคู่สมรสไทยและอเมริกันถ้ามี)
      • สำเนาใบเกิดของคู่สมรสอเมริกัน (หากว่าเปลียนสัญชาติก็ใช้ใบเกิดประเทศนั้นๆ)
    • Form I-765
      • Form I -765
      • สำเนาวีซ่า K1-K4 หรือว่าอื่นๆ ที่คุณใช้เข้าอเมริกา
      • สำเนา I-94 (หน้าหลัง) วีซ่าอื่นๆ ที่ไม่มีก็ใช้เอกสารยืนยันที่มี
      • สำเนา Approval Notice (NOA2) วีซ่าอื่นๆ ไม่มี
      • Form I-693 (หรือจะใช้จากที่ตรวจจากไทยหรือมา Transfer ที่อเมริกาส่ง)
      • รูปถ่าย 2 ใบ (ถ่ายมาไม่เกิน 30 วัน)
      • สำเนาทะเบียนสมรส (Marriage Certificate)
      • สำเนาพาสปอร์ต (ของคู่สมรสไทยและอเมริกัน)
      • สำเนาใบเกิด (ที่แปล) เป็นไทยและอังกฤษ
      • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อนามสกุล (ที่แปล) เป็นไทยและอังกฤษ (ถ้ามี)
      • สำเนาใบหย่า (ที่แปล) เป็นไทยและอังกฤษ (ทั้งคู่สมรสไทยและอเมริกันถ้ามี)
      • สำเนาใบเกิดของคู่สมรสอเมริกัน (หากว่าเปลียนสัญชาติก็ใช้ใบเกิดประเทศนั้นๆ)
    • Form I-864 (คู่สมรสอเมริกันเป็นผู้เตรียม)

      • Form I-864 (คู่สมรสอเมริกันกรอก)
      • สำเนา Tax return ปีล่าสุด หากว่ามี 3 ปีย้อนหลังได้ก็ดี (หรือจะใช้ tax return transcript แทนก็ได้)
      • สำเนา W2 ปีล่าสุด
      • สำเนา Bank Statement
      • จดหมายรับรองบัญชีธนาคาร
      • จดหมายรับรองการทำงาน ควรเป็นตัวจริง

        หมายเหตุ หากว่าคู่สมรสอเมริกันมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ ต้องใช้ Joint sponsor
    • Form I-131 (K3-K4 ไม่ต้องกรอกใช้วีซ่าเดินทางเข้าออกได้เลย)

      • Form I-131 จะส่งหรือไม่ส่งก็เสียค่าธรรมเนียมรวมกับ AOS (I-485) ไปแล้ว ดังนั้นแนะนำให้กรอกส่งไปด้วย
      • สำเนาวีซ่า K1-K4 หรือว่าอื่นๆ ที่คุณใช้เข้าอเมริกา
      • สำเนา I-94 (หน้าหลัง) วีซ่าอื่นๆ ที่ไม่มีก็ใช้เอกสารยืนยันที่มี
      • สำเนา Approval Notice (NOA2) วีซ่าอื่นๆ ไม่มี
      • Form I-693 (หรือจะใช้จากที่ตรวจจากไทยหรือมา Transfer ที่อเมริกาส่ง)
      • รูปถ่าย 2 ใบ (ถ่ายมาไม่เกิน 30 วัน)
      • สำเนาทะเบียนสมรส (Marriage Certificate)
      • สำเนาพาสปอร์ต (ของคู่สมรสไทย)
      • สำเนาใบเกิด (ที่แปล) เป็นไทยและอังกฤษ
      • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อนามสกุล (ที่แปล) เป็นไทยและอังกฤษ (ถ้ามี)
      • สำเนาใบหย่า (ที่แปล) เป็นไทยและอังกฤษ (ทั้งคู่สมรสไทยและอเมริกันถ้ามี)
    • เอกสารความสัมพันธ์
      • รูป ถ่ายร่วมกันกับคู่สมรส หลังจากเข้าอเมริกา (วีซ่าอื่นๆ ที่รู้จักกันในอเมริกา) วันแต่งงานจดทะเบียน ทำกิจกรรมร่วมกันกับครอบครัวของคู่สมรส ท่องเที่ยวเดินทางไปไหนมาไหนด้วยกัน
      • จดหมายที่จ่าหน้าซองเป็นชื่อเรา
      • บัญชีร่วมกัน
      • บิลค่าน้ำ-ค่าไฟ
      • ประกันชีวิต
      • ประกันสุขภาพที่มีชื่อเราเกี่ยวข้องด้วย อื่นๆ (ก๊อบมากจากของพี่นัท)
ขั้นตอนการปรับสถานะของกลุ่มผู้ที่มาวีซ่าอื่นๆ  ไม่ใช่ K1-K4
  • Form G-325A (คู่สมรสอเมริกัน 1 ชุด และคู่สมรสไทย 1 ชุด)
  • Form I-130 สำหรับผู้ที่มาวีซ่าอื่นๆ วีซ่า K1-K4 ไม่ต้องใช้
  • สำเนา Approval Notice (NOA2) วีซ่าอื่นๆ ไม่มีไม่ต้องตกใจค่ะ
  • Form I-693 ต้องไปตรวจที่คลีนิคที่ทาง USCIS เขากำหนดไว้
  • รูปถ่าย วีซ่าอื่นๆ คู่สมรสอเมริกันต้องใช้ 2 รูป (สำหรับ I-130)
  • Form I-131 แนะนำสำหรับผู้ที่ปรับสถานะด้วยวีซ่าอื่นๆ กรอกได้ แต่แนะนำให้เดินทางหลังจากได้กรีนการ์ดแล้ว

สามีเสียชีวิตนานเท่าไหร่ ถึงสามารถใหม่ได้


สามีเสียชีวิตนานเท่าไหร่ ถึงสามารถใหม่ได้

 kenjung  รบกวนกูรู ทั้งหลาย สามีเสียนานแค่ไหนถึงแต่งงานใหม่ได้ http://www.usvisa4thai.com/board/viewtopic.php?p=557774#p557774

http://www.dopa.go.th/web_pages/m03093000/family1.html
    เงื่อนไขแห่งกฎหมาย 1. ชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ 2. ชายหรือหญิงไม่เป็นบุคคลวิกลจริตฯ 3. ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตฯ จะทำการสมรสกันไม่ได้ 4. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะทำการสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้ 5. ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ 6. หญิงที่สามีตาย หรือการสมรสสิ้นสุดลง ด้วยประการอื่น ต้องผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
      6.1 คลอดบุตรแล้ว 6.2 สมรสกับคู่สมรสเดิม 6.3 ใบรับรองแพทย์ ว่ามิได้มีครรภ์ 6.4 มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
    7. ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอม

จดทะเบียนใหม่หลังหย่าก่อน 310 วันได้หรือไม่



จดทะเบียนใหม่หลังหย่าก่อน 310 วันได้หรือไม่ 

คือดิฉันพึ่งหย่ากับสามีที่ไปทำงานที่ต่างประเทศมา ในระหว่างนั้นได้แยกกันอยู่เป็นระยะเวลาเกือบ4ปี (แต่พึ่งหย่า) ดิฉันสามารถจดทะเบียนใหม่ก่อน310วันได้หรือไม่คะ เพราะตอนนี้กำลังตั้งท้องกับสามีใหม่ และถ้าต้องขอคำสั่งศาลดิฉันต้องเสียค่าทนายเป็นจำนวนเท่าไหร่คะ   ช่วยตอบด้วยนะคะ ร้อนใจมากค่ะ  ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ บี  (223.204.25.1)     4 ต.ค. 2554
ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

กรณีของท่านดังกล่าว จะต้องมีคำสั่งของศาลให้สมรสได้แต่สถานเดียว เนื่องจากหากท่านมีความมั่นใจว่าได้ตั้งครรภ์กับสามีใหม่ท่านย่อมสามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้สมรสก่อนที่จะจดทะเบียนสมรสกับสามีใหม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1453(4)
โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก)  (58.136.20.25)     10 ต.ค. 2554

ความคิดเห็นที่ 1

ที่กฎหมายให้สมรสหลัง 310 วันนับแต่การหย่า  ก็คงเกรงจะมีปัญหาว่าใครคือพ่อของเด็ก   แต่ถ้าฝ่าฝืน สมรสก่อน  310  วัน ก็ถือว่าสามีคนใหม่เป็นพ่อของบุตร   ถ้าไปจดทะเบียนสมรสเจ้าหน้าที่คงไม่จดให้ ถ้าหย่ายังไม่ถึง 310 วัน  ต้องมีคำสั่งศาลเท่านั้น  ก็รออีกเพียง 10 เดือน ค่อยจดทะเบียนสมรสก็ได้  ไม่ต้องฟ้องศาลให้ยุ่งยาก ถ้าจะฟ้องศาลเรื่องทนายความต้องตกลงกันเองครับ    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1453 หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อย กว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่
(1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
(2) สมรสกับคู่สมรสเดิม
(3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการ รักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์หรือ
(4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้


มาตรา 1537 ในกรณีที่หญิงทำการสมรสใหม่นั้นเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 1453 และคลอดบุตรภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กที่เกิดแต่หญิงนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของชายผู้เป็นสามีคนใหม่ และห้ามมิให้นำข้อสันนิษฐานใน มาตรา 1536 ที่ว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีเดิมมาใช้บังคับ ทั้งนี้เว้นแต่ มีคำพิพากษาของศาลแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย ผู้เป็นสามีคนใหม่นั้น

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน (สมาชิก)  (125.26.106.14)     5 ต.ค. 2554

Buying the house in the US


 Buy the house in the US

  •  natthakan_ch  Post *** OUR NEW HOUSE ***เรื่องซื้อบ้านหน้า 5 ค่ะ http://www.usvisa4thai.com/board/viewtopic.php?p=516123#p516123
    • พอดีมีเพื่อนๆหลังไมค์มาถามเรื่องซื้อบ้าน กันหลายคน ยินดีค่ะ ตอนนี้ความรู้เยอะเลยเอามาแบ่งปันกันดีกว่าเนาะ จริงๆสามีเป็นคนอธิบายให้ฟังน่ะคะเลยเข้าใจง่ายขึ้น
    • ซิ้อบ้านเป็นอะไรที่ เครียดมากๆแต่พอเสร็จกระบวนการแล้วมันภูมิใจ หายเหนื่อยนะคะ บ้านหลังที่แล้วไม่มีอะไรมากเพราะเราย้ายเพราะงานของสามี เบสิคๆที่ทำงานทำให้หมดว่างั้น แต่บ้านหลังใหม่นี้หาเอง ดูเอง ทำเอกสารเองหมดค่ะ
    • ขออนุญาตเอามาเล่าให้ฟังเผื่อเป็นแนวทางสำหรับคนที่ยังไม่รู้ขั้นตอนนะคะ(กรณีซื้อบ้านเก่า ไม่ใช่สร้างใหม่นะคะ)
    • เริ่มจากเสริจหาบ้านก่อนนะคะ นัทเข้า http://www.redfin.com หรือ http://www.craigslist.com สองอันนี้ โฮมดอทคอม กะอันอื่นๆไม่ค่อยอัพทูเดทเท่าไหร่ค่ะ
    • หาบ้านที่ราคาที่เราต้องการ แล้วเอามาเพิ่มประมาณ 1-2 หมื่น เพราะอย่าลืมว่าเราต้อง bid แข่งกับคนอื่นๆ อาจต้องเพิ่มราคาไปอีกหน่อยจากราคาที่เขาตั้งขายนะคะ เช่น เค้าตั้งที่ 279,900 ถ้ามีคนบิดหลายคนแล้ว เรียลเตอร์จะบอกว่ามีคนบิดกี่คนแล้ว เราก็บิดไปที่ 289,000-299,000
    • บ้านนี้ต้องมีจำนวนวันที่อยู่ในตลาดการขายน้อยๆเช่น 2 days in market เพราะบ้านที่มีจำนวนวันมากๆแสดงว่าบ้านนี้ไม่มีใครต้องการ มันน่าจะมีอะไรตุๆแน่ๆเช่น ราคาสูงไป เนเบอร์แย่ อะไรอย่างนี้ ไม่ต้องเสียเวลาไปดูนะคะ
    • หาเรียลเตอร์ หาจากเวปที่เราเสริจหาบ้านนี่แหล่ะค่ะ นัดว่าอยากไปดูบ้าน บอกเขาว่าที่เราต้องการทีอะไรบ้าง เขียนไว้เป็นลิสก็ดีนะคะ ของนัทที่เขียนไว้นี่ picky มาก
    • 4++ bedrooms 2++ bathrooms
    • big back yard or pool(no pool but community pool is ok)
    • nice big kitchen with granite top
    • 2 story
    • closed 5 stars school
    • เรียลเตอร์บอก โห เลยตอนเห็นลิส แต่เราบอกซื้อบ้านไม่ใช่ซื้อรองเท้า ถ้าไม่ได้ทั้งหมดเอาสามในสี่ก็ได้จ้า
    • **** ห้ามเซนต์สัญญากับเรียลเตอร์ก่อนเด็ดขาดก่อนที่จะได้บ้านถูกใจนะึคะ เพราะ ไอ้ Exclusive Presentation Contract เนี่ยจะกลับมาไบท์ อิน ดิ แอส ได้ค่ะ เนื่องจากเรียลเตอร์บางคน ฉลาดแกมโกง อยากให้เราซื้อบ้านจนตัวสั่น หากเราเซนต์ไป จะทำให้เราขาดสิทธิ์ในการเลือกเอง เผือเราไม่ชอบใจการทำงานของเค้าเราจะได้ออกตัวไปอย่างง่ายๆค่ะ ****
    • - พอไปดูบ้านแล้วถ้าถูกใจก็ลองเสนอราคาดูนะคะ ขั้นตอนการเสนอราคาเรียลเตอร์จะบอกว่าราคาบ้านนี้ไม่น่าจะเิกินนี้ หรือดูจาก redfin ดูล่างๆว่า เนเบอร์เขาขายกันที่เท่าไหร่ ราคาต่อsqft กันเท่าไหร่ จะได้ราคาที่เป็นธรรมนะคะ
    • - ตอนบิดเนี่ยแหล่ะ ต้องทำใจดีๆ บางทีบ้านที่เราชอบ หลงรักทุกๆอย่าง ราคาที่เราบิดไปเนียสู้เขาไม่ได้เนี่ยเศร้าได้นะคะ เผื่อใจไว้บ้างก็ดี ในการบิดมันจะมีรายละเอียดยิบย่อย ซึ่งเอเจนท์น่าจะบอกเราเช่น ราคาบ้านนัทตั้งที่ $279,000 เราบิดไปที่ $299,000 ขอคืน ask backfrom seller $9,000 for closing cost( ค่าใช้จ่ายตอนเซนต์สัญญา) คนขายโอเคกับราคาที่เราเสนอ ก็โอเค
    • หลังจากที offer got approved!! เรามีสิทธิ์จะ์เปลี่ยนใจ กลับลำได้ เพราะเรายังไม่ได่จ่ายอะไร บางที่นัทเสนอราคาไปพร้อมๆกันสามสี่หลัง บ้านที่ได้ตอบกลับมาเป็นบ้านที่เรา รู้สึกว่า แค่ โอเค เรา back off ได้ค่ะ เอาจนกว่าจะเจอที่ชอบแล้วว่า WOW ONE!!!
    • - พอได้บ้าน เราก็ทำการเปิด ESCROW ขั้นตอนนี้แหล่ะที่เราจะได้ $8,000 จากรัฐ ตอน file income tax ปลายปีนะคะ ถ้าเราทำก่อนเดือน November นะคะ
    • - หลังจากนี้ก็เอกสารล้วนๆๆๆๆๆๆ เซ็นๆๆๆๆ รอประมาณเดือนนึงหลังจากขั้นตอนนี้ จน Closed Escrow วันนั้นแหล่ะที่จะได้กุญแจบ้านมาครอง
    • ซื้อบ้านต้องใจเย็น รอบคอบ smart move act fast but claim ค่ะ
 โชคดีทุกคน
ปล.สงสัยก็ถามได้ตลอดนะคะ

          o จริงๆ realtor หรือ agency ไม่ได้เป็นคนตัดสินใจเรื่องขายหรือไม่ขายนะคะ คนที่ตัดสินใจคือเจ้าของบ้าน(กรณีที่บ้านไม่มีปัญหา) กับธนาคารเจ้าของ mortgage กรณีที่เป็นบ้าน forclosed หรือ short sell ตอนนี้ที่บ้านค้างเติ่งในตลาดเยอะก็เพราะธนาคารพวกนี้แหละค่ะที่ไม่ยอมปล่อย
          o บ้าน short sell กับ auction จริงๆถ้าไม่อยากวุ่นวายแนะนำว่าอย่าซื้อค่ะ
          o short sell นั้นจริงๆไม่ใช้บ้านที่พร้อมขาย พร้อมโอนนะคะ short sell คือการที่เจ้าของบ้านพยายามเลี่ยง foreclosure (เพราะ foreclosure จะติดใน credit report) โดยการขอปลดหนี้กับธนาคารเจ้าฃองเงินกู้โดยการจ่ายเงินน้อยกว่าที่เป็นหนี้ อยู่ (เช่นเป็นหนี้อยู่แสนนึง แต่ขาย short sell หกหมื่น แล้วก็ไปต่อรองกับแบงค์ว่าเอาแค่หกหมื่นแล้วลบหนี้ไปเถอะ บางที่ แบงค์อาจจะยอมเพราะขี้เกียจ foreclosed ที่ใช้เวลานานแล้วก็อาจจะได้ราคาพอๆกัน)
          o เจ้าของบ้านจะทำโดย การ ประกาศขายบ้านล่วงหน้า พอได้คนซื้อแล้วเค้าถึงเอาไปเสนอที่แบงค์ แบงค์ก็จะดูว่าจะรับมั้ย ถ้าแบงค์คิดว่าราคายังต่ำไปเค้าก็ไม่เอา เจ้าฃองก็อาจจะยัง list บ้านไว้เผื่อได้ราคาดีขึ้น หรือไม่บ้านนั้นก็จะ foreclosed ไป
          o บ้าน short sell นี่ถ้าคุณ bid ไปรอไปเลยค่ะเป็นเดือน กว่าจะรู้ว่าแบงค์อนุมัติมั้ย ถ้าจำไม่ผิณโดยเฉลี่ยบ้าน short sell ที่ แบงค์อนุมัตินี่ระยะเวลาตั้งแต่ bid จน closing ที่ประมาณ 6-9 เดือน บ้านปกติแค่1-2 เดือน (นอกจาก short sell ที่เค้าบอกว่า lender approve แล้ว อันนั้นจะเร็วขึ้นนิด)
          o ส่วน auction นี่ถ้าคุณไม่ได้มีโอกาสเข้าไปดูข้างในก่อนต้องระวังมากๆ เพราะบ้าน foreclosed บางหลังนี่ข้างในอย่างกับระเบิดลง คนอยู่พังฝา หลังคา เครื่องห้องน้ำหมดก็มี
          o ถ้าอยากได้ราคาดี แต่ไม่ต้องปวดหัวมาก แนะนำให้ดูพวกบ้าน foreclosed, bank owned, หรือ corporate owned ค่ะ บ้านพวกนั้นจะพร้อมขายมากกว่า แต่คงต้อง bid against คนซื้อคนอื่น แล้วก็ต้องดูข้างในบ้านให้ดี
          o ถ้าบ้านที่คุณจะ ซื้ออายุน้อยกว่า 10 ปี และอยู่แถบที่เป็นฟองสบู่ (FL) ระวังเรื่อง drywall นิดนึง เช็คให้แน่ว่าไม่ใช่ Chinese drywall เพราะถ้าเป็น Chinese drywall คุณต้องเปลี่ยนเพราะจะมีปัญหาเรื่อง mold
          o อีกอย่างที่ทำให้ บ้านค้าง ตลาดนานก็เพราะเดี๋ยวนี้แบงค์อนุมัติ loan ยากมาก credit ดี มีเงินดาวน์ (20%) ก็ใช่ว่าจะได้ โดยเฉพาะคนที่ซื้อบ้านหลังที่ 2,3 เมื่อก่อนไม่มีหลักฐานรายได้ก็ซื้อบ้านราคาหลายแสนได้ เดี๋ยวนี้ซื้อบ้านราคาไม่ถึงแสนแบงค์ขอโน่นขอนี่ ขอจนคนซื้อรำคาญเลิกซื้อก็มี บ้านก็ต้องกลับมาอยู่ในตลาดอีก
          o ตอนนี้บ้านหลังใหนขายได้ใน 3-4 เดือนนี่เรียกว่าดีมากค่ะ
          o เพิ่ง เห็นข้อมูลใหม่เมื่ออาทิตย์ที่แล้วว่าเดี๋ยวนี้โดยเฉลี่ยบ้านใหม่ที่ขายอยู่ ในตลาดมาเกินปีถึงขายได้ค่ะ (บ้านเก่าน่าจะประมาณ 7-8 เดือน) เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว บ้านใหมพวกนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในตลาดแค่ 3-4 เดือนก็ขายได้
          o ถ้า area ที่คุณหาบ้านอยู่มีอยู่ใน listingbook.com ลองเข้าไปเปิด account ดูนะคะ คุณจะได้เข้าถึง database ที่มีข้อมูลรายละเอียดมากกว่าตามเวปของ realtors
          o แล้วถึงตลาดบ้าจะตกมาก ถ้าชอบจริงๆ แนะนำให้ bid มากกว่าราคาที่ list นะคะ
          o ขอให้ได้บ้านที่ถูกใจเร็วๆนะคะ

การกรอก I-131


ฟอร์ม I-131 Application for Travel Document www.uscis.gov/i-131
  1. เอกสารที่จะส่งไปนี้จะส่งไปที่ไหนค่ะ พอดีน้าอยู่ Washington ใช่ส่งไปที่ ศูนย์แคลิฟอร์เนียใช่ไหมค่ะ
  2. เอกสารที่จะแนบไปมีอะไรบ้างค่ะ 
  3. ค่าธรรมเนียมเท่ารัย
  4. ต้องสั่งจ่ายถึงใคร
ทำอะไร คำตอบอยู่นี่ http://www.uscis.gov/files/form/i-131instr.pdf

Remove I-751 Divorce หย่า


Remove I-751 Divorce หย่า

I have not posted on here bfore and this is the 1st time i have had to post, due to the fact Laura always did this.
unfortunately for us the marriage has not worked out here in the USA and divorce is on the cards.
at the end of the year i will have to file to remove my conditions i.e i751 form etc.
any advice would be appreciated.
Ian

What If I am Widow, Widower or Divorced?
  • You still must submit:
  • USCIS Form I-751 (Petition to Remove the Conditions on Residence)
  • Copy of USCIS Form I-551 (Permanent Resident Card)
  • Supporting evidence that you did not get married to evade the immigration laws of the United States that are listed above along with a copy of your spouse’s death certificate or the divorce /annulment decree whichever applies to your circumstances.

Ian,
I'm sorry that everything didn't work out, and if you are scheduled to remove conditions at the end of 2008, you have ample time to sort out the evidence you will need. The alien uses form I-751, marking box "d" to indicate that the alien is not jointly petitioning to remove conditions. You'll need a divorce decree, so if you are the one contemplating filing for divorce, you should bear that in mind to get the final judgment settled in time to file your I-751 waiver. Also evidence of your commingled lives from marriage through the date your relationship ended.

Good luck.

การเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนราษฎร (ทะเบียนบ้าน)


การเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนราษฎร (ทะเบียนบ้าน)
ข้อมูลทั่วไป

  • การ เปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนราษฎร หรือ การบันทึกฐานะแห่งครอบครัวภายหลังการสมรส/หย่า จะต้องดำเนินการที่ประเทศไทยเท่านั้น โดยผู้ร้องที่จดทะเบียนสมรส/หย่าภายใต้กฎหมายต่างประเทศ เช่น กฎหมายสหรัฐอเมริกา และต้องการจะเปลี่ยนนามสกุลหลังการสมรส/หย่า ต้องยื่นคำร้องขอบันทึกฐานะแห่งครอบครัวและเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนราษฎรที่ สำนักงานเขต/อำเภอที่ประเทศไทยเท่านั้น หากผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายอเมริกา จะต้องนำทะเบียนสมรส/หย่าที่ออกหน่วยราชการสหรัฐอเมริกาไปผ่านการรับรอง เอกสาร 3 แห่งในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Secretary of State, Department of States และสถานเอกอัครราชทูตฯ ก่อนที่จะนำไปใช้ที่ประเทศไทย
  • สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับรองลายมือชื่อในเอกสารที่กรอกข้อความไม่ครบถ้วน
  • สถานเอกอัครราชทูตฯ รับรองเฉพาะลายมือชื่อ ไม่รับรองข้อความใดๆ ที่ปรากฎในเอกสาร
ขั้นตอนการดำเนินการ 
1. นำทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่า ไปผ่านการรับรองจาก Office of the Secretary of State หรือ State Authentication Authorities หรือ Superior Court ของรัฐที่ออกเอกสารให้ โดยผู้ร้องสามารถหาข้อมูลของแต่ละรัฐได้ที่
                  
http://travel.state.gov/about/info/customer/customer_312.html
2. นำทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่า ที่ผ่านการรับรองขั้นตอนจากข้อ 1 ไปรับรองเอกสารที่ Department of State, Authentication Office Washington D.C. (กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา) โดยผู้ร้องสามารถหาข้อมูลได้ที่
            Authentication Office
            United State Department of State
            518 23rd Street, N.W. SA-1
            Washington D.C. 20520
            Tel. 1-800-688-9889 # 6
                   (202) 647-5002
                   http://www.state.gov/m/a/auth/

3. หลังจากผ่านขั้นตอนตาม ข้อ 2 แล้ว ผู้ร้องจะต้องส่งนำทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่าดังกล่าวมารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน เป็นขั้นตอนสุดท้ายในสหรัฐอเมริกา ดูรายละเอียดของเอกสารที่ใช้ได้ในหัวข้อ “เอกสารที่ใช้”  
4. นำเอกสารตัวจริงที่ผ่านขั้นตอนการรับรองเอกสารทั้งสามข้อในสหรัฐอเมริกา (Office of the Secretary of State, Department of State และสถานเอกอัครราชทูตฯ) ไปประเทศไทยและนำไปแปลเป็นภาษาไทยได้ตามร้านรับจ้างแปลทั่วไป
5. นำเอกสารตัวจริงพร้อมคำแปลภาษาไทย ไปที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้รับรองเอกสารตัวจริงและคำแปลภาษาไทยดังกล่าว ว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง
            กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
            123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
            โทรศัพท์ : 02-575-1056-61 โทรสาร : 02-575-1054
            เวลาทำการ : 08.30-14.30 น. (ปิดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
            e-mail : consular04@mfa.go.th

6. นำเอกสารตัวจริงและคำแปลที่ผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ไปยื่นคำร้องต่อที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขตที่ท่านมีชื่ออยู่ เพื่อทำการบันทึกสถานะครอบครัว โดยเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้าน หลังจากนั้น ท่านจะต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ เพื่อนำไปใช้ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (e-passport)
การยื่นคำร้อง 
ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องได้ 2 วิธี คือ

  • ยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
         กำหนดเวลาการยื่นคำร้อง คือ 09.00 - 13.00 น.
         วันจันทร์ - วันศุกร์ (เว้นวันหยุดราชการสถานทูต)
         แผนที่ตั้ง สอท.
  • ยื่นคำร้องทางไปรษณีย์ ส่งไปที่ : 
         The Royal Thai Embassy
         Consular Section, Room 101
         1024 Wisconsin Ave., N.W.
         Washington D.C. 20007
เอกสารที่ใช้ กรณีผู้ร้องและคู่สมรสเดินทางไปแสดงตนที่สำนักงานเขต/อำเภอ
  • กรอกคำร้องนิติกรณ์ (Download) จำนวน 1 ชุด
  • ทะเบียนสมรส/หย่า ที่ผ่านการรับรองจาก Secretary of State และ Department of State แล้ว (ดูรายละเอียดได้ในหัวข้อ “ขั้นตอนการดำเนินการ” ข้อที่ 1 และ 2 พร้อมสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ร้องและคู่สมรส หน้าที่มีรูปถ่ายจนถึงหน้าที่ประทับตราวันต่ออายุและวันหมดอายุ จำนวน 1 ชุด (หากคู่สมรสไม่มีหนังสือเดินทาง ให้ถ่ายสำเนาของ I.D. Card หรือ Driver’s License)
ค่าธรรมเนียม
  • ค่าธรรมเนียมในการรับรองทะเบียนสมรส/หย่า ฉบับละ 15.00 ดอลลาร์สหรัฐ
  • วิธีการชำระเงิน
    • ชำระเป็น เงินสด
    • ชำระเป็น Money Order สั่งจ่าย “The Royal Thai Embassy”
หมายเหตุ ยื่นคำร้องทางไปรษณีย์ รับชำระค่าธรรมเนียมเป็น Money Order เท่านั้น

เอกสารที่ใช้ กรณีคู่สมรสไม่สามารถเดินทางไปแสดงตนที่สำนักงานเขต/อำเภอ
  • กรอกคำร้องนิติกรณ์ (Download) จำนวน 1 ชุด
  • ทะเบียนสมรส/หย่า ที่ผ่านการรับรองจาก Secretary of State และ Department of State แล้ว (ดูรายละเอียดได้ในหัวข้อ “ขั้นตอนการดำเนินการ” ข้อที่ 1 และ 2) พร้อมสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
  • หนังสือเดินทางของผู้ร้องและคู่สมรส ฉบับจริง
  • สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ร้องและคู่สมรส หน้าที่มีรูปถ่ายจนถึงหน้าที่ประทับตราวันต่ออายุและวันหมดอายุ จำนวน 1 ชุด (หากคู่สมรสไม่มีหนังสือเดินทาง ให้ถ่ายสำเนาของ I.D. Card หรือ Driver’s License)
  • กรอกหนังสือตกลงการใช้ชื่อสกุล (Download) จำนวน 1 ชุด
  • กรณียื่นคำร้องทางไปรษณีย์ ผู้ร้องและคู่สมรสต้องมีแบบฟอร์มรับรองลายมือชื่อ Notary Public for Signature (Download) ซึ่งท่านและคู่สมรสต้องไปเซ็นชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ Notary Public เพื่อรับรองลายเซ็นของท่านและคู่สมรส
หมายเหตุ  ในการยื่นคำร้องทางไปรษณีย์ หากผู้ร้องไม่ต้องการส่งหนังสือเดินทางฉบับจริง ต้องส่งสำเนาที่ให้เจ้าหน้าที่ Notary Public รับรองว่าเป็นสำเนาที่ถ่ายจากต้นฉบับจริง

ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียม 30.00 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย
    • ค่าธรรมเนียมในการรับรองทะเบียนสมรส/หย่า ฉบับละ 15.00 ดอลลาร์สหรัฐ
    • ค่าธรรมเนียมในการรับรองลายมือชื่อในหนังสือตกลงการใช้ชื่อสกุล ฉบับละ 15.00 ดอลลาร์สหรัฐ
  • วิธีการชำระเงิน
    • ชำระเป็น เงินสด
    • ชำระเป็น Money Order สั่งจ่าย “The Royal Thai Embassy”
หมายเหตุ ยื่นคำร้องทางไปรษณีย์ รับชำระค่าธรรมเนียมเป็น Money Order เท่านั้น

เอกสารที่ใช้ กรณีผู้ร้องและคู่สมรสไม่สามารถเดินทางไปแสดงตนที่ สำนักงานเขต/อำเภอ
                                        (มอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทน)

  • กรอกคำร้องนิติกรณ์ (Download) จำนวน 1 ชุด
  • ทะเบียนสมรส/หย่า ที่ผ่านการรับรองจาก Secretary of State และ Department of State แล้ว (ดูรายละเอียดได้ในหัวข้อ “ขั้นตอนการดำเนินการ” ข้อที่ 1 และ 2) พร้อมสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
  • (หากคู่สมรสไม่มีหนังสือเดินทาง ให้ถ่ายสำเนาของ I.D. Card หรือ Driver’s License)
  • หนังสือเดินทางของผู้ร้อง เล่มจริงที่ยังมีอายุใช้งาน
  • สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ร้องและคู่สมรส หน้าที่มีรูปถ่ายจนถึงหน้าที่ประทับตราวันต่ออายุและวันหมดอายุ จำนวน 1 ชุด (หากคู่สมรสไม่มีหนังสือเดินทาง ให้ถ่ายสำเนาของ I.D. Card หรือ Driver’s License)
  • กรอกหนังสือตกลงการใช้ชื่อสกุล (Download) จำนวน 1 ชุด
  • กรอกหนังสือมอบอำนาจสำหรับเปลี่ยนนามสกุล (Download) จำนวน 1 ชุด
  • กรณียื่นคำร้องทางไปรษณีย์ ผู้ร้องและคู่สมรสต้องมีแบบฟอร์มรับรองลายมือชื่อ Notary Public for Signature (Download) ซึ่งท่านและคู่สมรสต้องไปเซ็นชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ Notary Public เพื่อรับรองลายเซ็นของท่านและคู่สมรส 
ค่าธรรมเนียม
  • ค่าธรรมเนียม 60.00 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย
    • ค่าธรรมเนียมในการรับรองทะเบียนสมรส/หย่า ฉบับละ 15.00 ดอลลาร์สหรัฐ
    • ค่าธรรมเนียมในการรับรองลายมือชื่อในหนังสือตกลงการใช้ชื่อสกุล ฉบับละ 15.00  ดอลลาร์สหรัฐ
    • ค่าธรรมเนียมในการรับรองลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉบับละ 15 ดอลลาร์สหรัฐ
    • ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองสำเนาถูกต้องของหนังสือเดินทาง ฉบับละ 15.00 ดอลลาร์สหรัฐ
  • วิธีการชำระเงิน
    • ชำระเป็น เงินสด
    • ชำระเป็น Money Order สั่งจ่าย “The Royal Thai Embassy”
หมายเหตุ ยื่นคำร้องทางไปรษณีย์ รับชำระค่าธรรมเนียมเป็น Money Order เท่านั้น
ระยะเวลาในการดำเนินการ
  • กรณียื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ จะใช้เวลาในดำเนินการประมาณ 3-5 วันทำการ
  • กรณียื่นคำร้องทางไปรษณีย์ จะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 7-10 วันทำการ

 You are here:  Skip Navigation Links

การถูกปฏิเสธจากวีซ่าชั่วคราว มีผลต่อวีซ่าคู่สมรสไหม


การถูกปฏิเสธจากวีซ่าชั่วคราว มีผลต่อวีซ่าคู่สมรสไหม

  1. คิดว่าไม่มีปัญหา แต่คุณควรกรอกเอกสารข้อมูลให้ตรงกัน หากว่าคุณตอบไปว่าคุณไม่มีใครอยู่ที่อเมริกา แล้วอยู่ ๆ คุณแต่งงานกับอเมริกัน ตรงนี้คุณก็เตรียมคำตอบไว้ด้วยนะคะ
  2. หลัก ๆ ก็คือผู้ที่ไม่ผ่านวีซ่าชั่วคราวแล้วมาขอวีซ่าครอบครัว น่ะไม่ค่อยจะมีปัญหาค่ะ  

ฟอร์มต่างๆ ที่เป็นไทย

ฟอร์มต่างๆ ที่เป็นไทย


  1. http://www.usvisa4thai.com/pdf/ds-156-thai.pdf

Today I create this Blog

Today I create this Blog